สารเสริมในอาหารสัตว์
สารที่ใช้ปรับปรุงอาหารพื้น (Basal diet) ให้มีคุณภาพดีขึ้นหรือมีคุณค่าทางโภชนะที่เหมาะสมเพียงต่อความต้องการของสัตว์
Ø สารเสริมโปรตีน
ยีสต์,
single, cell protein
Ø กรดอะมิโนสังเคราะห์ lysine methionine, Protected
protein ( amino acid ) (rumen by-pass protein ) encapsulated methionine
Ø สารเสริมพลังงาน
Fat,
oil Protected fat, by-pass fat
Ø Calcium
salts of fatty acid Dissociate
Ca2
Saturated fatty acid } Dissociate
at pH 2-3
Unsaturated fatty acid
Ø สารเสริมแร่ธาตุ
CaCO3, Na2HPO4, Fe2(SO)4, ZnSO4, CuSO4 เป็นต้น
Ø แร่ธาตุในรูปสารประกอบอินทรีย์
(Organic
mineral compound) แร่ธาตุปลีกย่อย
Feed
Supplement
(อาหารเสริม) คือ วัตถุดิบอาหารสัตว์ชนิดเดียวหรือหลายชนิดรวมกัน
มีความเข้มข้นของสารอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งอยู่สูง ใช้เติมลงในการผสมอาหาร
เพื่อให้เกิดความสมดุลของสารอาหารในอาหารผสมนั้น เพื่อให้ร่างกายของสัตว์ได้รับสารอาหารที่เหมาะสมต่อความต้องการ
และการเจริญเติบโต
Feed Additive (วัตถุดิบที่เติมในอาหารสัตว์)
คือ สารที่เติมลงในอาหารให้สัตว์กินเพื่อจุดประสงค์อื่น
ไม่ใช่เป็นการให้สารอาหารโดยตรงกับสัตว์
แต่เป็นการกระตุ้นการเจริญเติบโตหรือการให้ผลผลิต หรือช่วยปรับปรุงคุณภาพของอาหาร
เช่น ยาปฏิชีวนะ ยากันรา ยากันหืน
ความแตกต่างของ
Feed
Supplement & Additive
•
Supplement : เสริมให้มีคุณค่าทางอาหารเหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ตามปกติ
•
Additive : เสริมให้มีคุณสมบัติดีขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิต และบำรุงสุขภาพของสัตว์
ตัวอย่างเทคโนโลยีชีวภาพที่ ใช้ในการผลิตสารเสริมในอาหารสัตว์
* การปรับปรุงคุณภาพพืช หรือจุลชีพที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ให้มีคุณค่าทางอาหาร สูงขึ้นด้วยวิธีทางพันธุวิศวกรรม
(GMO)
เช่น
Low
phytate corn (ข้าวโพดไฟเตทต่ำ) หรือ Low
oligosaccharide soybean (ถั่วเหลืองที่มีโอลิโกแซ็กคาไรด์ต่ำ)
* การผลิต Recombinant enzyme (เอนไซม์ปรับแต่งพันธุกรรม)
ใน ปริมาณมาก ราคาถูก เพื่อผสมลงในอาหารสัตว์
เอนไซม์ใช้เป็นสารเสริมได้อย่างไร ?
เอนไซม์คือตัวเร่งทางชีวภาพ
ที่สามารถนำมาใช้ช่วยเพิ่มคุณค่าของอาหารสัตว์ลดค่าใช้ จ่าย
และลดการปลดปล่อยของเสียสู่สิ่งแวดล้อม เช่น
• เอนไซม์ไฟเตทจากจุลินทรีย์สามารถผลิตได้ด้วยวิธีการทางเทคโนโลยีชีวภาพ
เพื่อนำไป ใช้ในการปลดปล่อยฟอสฟอรัสออกจาก ไฟเตท หรือกรดไฟติก ใน ธัญพืช เมล็ดพืช
ให้ อยู่ในรูปที่สัตว์สามารถนำไปใช้ได้ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อ
ฟอสฟอรัสมา เป็นสารอาหารเสริมให้แก่สัตว์ หรืออาหารสัตว์แบบอัดเม็ด
สามารถเสริม เอนไซม์เช่น cellulase, pectinace และ
xylanase ร่วมกับ ฟาง และ bagasse หรือ
วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอื่นๆ เช่นกากมันเป็นต้น
Probiotic
เป็นกลุ่มของจุลินทรีย์มีชีวิตและมีประโยชน์ต่อร่างกายสัตว์
โดยโพรไบโอติกจะทำหน้าที่ช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร
โดยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ให้มากขึ้น
ลดปริมาณจุลินทรีย์ที่เป็นโทษลงและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อต่อสู้กับเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายและยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคทำให้ไม่สามารถเกาะติดกับลำไส้
โดยวิธีการหลั่งสารออกมาต้านจุลินทรีย์ชนิดอื่นหรือเจริญเติบโตไปแย่งที่กันไม่ให้จุลินทรีย์ก่อโรคเจริญและถูกขับออกทางอุจจาระ เชื้อจุลินทรีย์ที่จัดเป็นโพรไบโอติก เช่น Lactic
acid bacteria (LAB) และ Bifidobacteria
Prebiotic
เป็นส่วนของอาหารที่ไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหาร
ช่วยกระตุ้นการเจริญและกิจกรรมของแบคทีเรียกลุ่มโพรไบโอติกในลำไส้ใหญ่ พรีไบโอติกส่วนมากเป็นสารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้เช่น
oligosaccharide และ fructoligosaccharide เป็นต้น
โดยปกติแล้วพรีไบโอติกและโพรไบโอติกจะทำงานร่วมกัน
เราสามารถใช้เอนไซม์ผลิตพรีไบโอติกได้อย่างไร
พรีไบโอติกส์คือสารประกอบพวกโอลิโกแซกคาไรด์ (Oligosaccharide) ซึ่งเป็นสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ถูกย่อยและไม่ถูกดูดซืมในระบบทางเดินอาหารส่วนบนและสามารถผ่านไปสู้ลำไส้ใหญ่ได้ในสภาพที่สมบูรณ์ มีผลช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์กลุ่มโพรไบโอติก
ซึ่งเมื่อโปรไบโอติกส์ย่อยสารกลุ่มนี้แล้วจะได้สารบางชนิดที่มีประโยชน์ซึ่งร่างกายก็จะนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายชนิดแหล่งของพรีไบโอติกส์นั้นจะมีอยู่ 2 กลุ่มคือ
พรีไบโอติกส์ที่พบในธรรมชาติ เช่นในผักผลไม้
และพรีไบโอติกส์ที่ได้จากการสังเคราะห์โดยใช้เอนไซม์มาย่อย Polysaccharide เช่นแป้ง เป็นต้น
โดยการผลิตพรีไบโอติกส์จากการสังเคราะห์โดยใช้เอนไซม์
สามารถใช้เอนไซม์ที่ผลิตได้จากจุลินทรีย์
หรือสกัดจากตัวจุลินทรีย์เองภายใต้สภาวะที่จำเพาะ และใช้สารประกอบประเภทน้ำตาลเป็นสารตั้งต้นของการผลิตพรีไบโอติกส์
โดยหากอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมจะสารถเร่งการสังเคราะห์สารโอลิโกแซกคาร์ไรด์ได้อีกด้วย
โดยวิธีการสังเคราะห์ด้วยเอนไซม์นี้ มันจะใช้สารในกลุ่ม fructooligosaccarides กลุ่ม α-glucooligosaccharides, กลุ่ม β- glucooligosacchrides และกลุ่ม β-
galactooligosaccharides เป็นต้น
จีเอ็มโอ
ย่อมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Genetically
Modified Organisms (GMOs) คือ
สิ่งมีชีวิตซึ่งไม่ว่าจะเป็นพืช หรือสัตว์ หรือแบคทีเรีย หรือ จุลินทรีย์
ที่ถูกดัดแปลง พันธุกรรม จากกระบวนการทาง พันธุวิศวกรรม (Genetic
Engineering)โดยจากการตัดเอายีน(gene)ของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง
มาใส่เข้าไปในยีน(gene)ของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง
โดยตามปกติไม่เคยผสมพันธุ์กันได้ในธรรรมชาติ เพื่อให้สิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ที่มีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติตามที่ต้องการ
ซึ่งสิ่งมีชีวิตที่ถูกนำยีน(gene)มาใส่เข้าไปแล้วก็คือ
จีเอ็มโอ(GMOs) ตัวอย่างเช่น นำยีน(gene)ทนความหนาวเย็นจากปลาขั้วโลกมาผสมกับมะเขือเทศเพื่อให้มะเขือเทศปลูกในที่ที่อากาศหนาวเย็นได้
นำยีน(gene)จากแบคทีเรียชนิดหนึ่งมาใส่ในยีน(gene)ของถั่วเหลืองเพื่อให้ถั่วเหลืองทนทานต่อยาปราบวัชพืช นำยีน(gene)จากไวรัสมาใส่ในมะละกอเพื่อให้มะละกอต้านทานโรคไวรัสใบด่างวงแหวนได้
เป็นต้น
โดยพืชที่ได้รับการตัดต่อยีน(gene)จากกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) อาจเรียกแบบเฉพาะได้ว่า Transgenic Plant ส่วนคำว่า
จีเอ็มโอ(GMOs) เป็นคำที่เรียกสิ่งมีชีวิตทั่วไปที่ได้รับการตัดต่อยีน(gene)
พืชจีเอ็มโอ (GMOs)ที่มีขายตามท้องตลาดในปัจจุบัน ได้แก่ ถั่วเหลือง, ข้าวโพด,
มันฝรั่ง, มะเขือเทศ, มะละกอ,
ฝ้าย, คาโนลา (Canola) (พืชให้น้ำมัน)
และ สควอช (Squash)
เราสามารถใช้ GMOsในการผลิตสารเสริมในอาหารสัตว์ได้อย่างไร
ปัจจุบันมีการนำเอาวิธีทางพันธุวิศวกรรม
หรือ GMO
เข้ามาใช้ทางด้านการผลิตสารเสริมในอาหารสัตว์หลายวิธี
ยกตัวอย่างเช่น การทำพืช GMO หรือการดัดแปลงพันธุกรรมของพืช
เช่น การทำให้พืชบางชนิดมีไฟเตทต่ำ โดยพืชส่วนใหญ่มีฟอสฟอรัสในรูป
ไฟเตท ซึ่งสัตว์เอาไปใช้ไม่ได้ จึงได้มีการ ปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีไฟเตทและฟอสฟอรัสต่ำลงเพื่อให้สัตว์ใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
หรือมีการปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีปริมาณไขมัน และ โปรตีนสูงขึ้น
สำหรับใช้เป็นอาหารสัตว์ รวมถึงผลิตภัณฑ์สารเสริมที่ผลิตจากแบคทีเรีย
GMOs เนื่องจากโปรตีนต่างๆที่ผลิตขึ้นใหม่ ถูกผลิตในระบบปิด
มีการสกัดเอาเฉพาะโปรตีนหลักให้บริสุทธิ์
และจากการวิเคราะห์โปรตีนที่สกัดได้ในระดับโมเลกุลพบว่าไม่มีความแตกต่างจากโปรตีนในธรรมชาติ
จึงมีความปลอดภัยต่อสัตว์และผู้บริโภค โดยในการใช้สารGMOต่างๆควรคำนึงถึงความถูกต้องและปลอดภัยทั้งต่อตัวสัตว์
ผู้ผลิต และผู้บริโภค
ยกตัวอย่าง หากเราเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์
จะมีแนวทางในการใช้สารเสริมในอาหารสัตว์อย่างไร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและกำไรสูงสุดได้อย่างไร
ในการใช้สารเสริมในอาหารสัตว์ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ชนิดใดก็ตาม
ควรคำนึงถึงความต้องการโภชนะของสัตว์ชนิดนั้นๆ หรือช่วงอายุของสัตว์
รวมถึงสรีระร่างกายของสัตว์แต่ละชนิดเองด้วย ยกตัวอย่างเช่น การเสริมสารเสริมเอนไซม์ไฟเตทในสัตว์กระเพาะเดี่ยวเช่นสุกรและไก่
จะเป็นการเสริมเพื่อช่วยให้สัตว์สามารถย่อยไฟเตสในอาหารและสามารถใช้อาหารได้สูงสุดได้
แต่กลับกันในกลุ่มสัตว์เคี้ยวเอื้อง ไม่จำเป็นต้องเสริมไฟเตทลงไปเนื่องจากจุลินทรีย์ ในร่างกายสามารถย่อยไฟเตสได้อยู่แล้ว
ดังนั้นจึงแค่รักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในตัวสัตว์ให้ดีก็เพียงพอ
หรือปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้สารเสริม
เช่น ในช่วงที่อากาศร้อนจัดจะมีการเสริมวิตามินซีลงไปในน้ำดื่มในไก่เพื่อลดความเครียดที่เกิดจากความร้อน
เป็นต้น ซึ่งการเสริมสารเสริมลงไปนั้นก็ควรคำนึงปริมาณการใช้
หรือช่วงเวลาการใช้ที่จะได้ผลมากที่สุด และประหยัดการใช้ได้มากที่สุด
เพื่อเป็นการลดต้นทุนด้านค่าใช้จ่าย
สารเสริมที่ชื่นชอบ
สารเร่งการเจริญเติบโต
ซีสเทียมีน ไฮโดรคลอไรด์
จุดมุ่งหวังสูงสุดของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในเชิงธุรกิจ
ก็คือการจัดการสัตว์ เพื่อให้สัตว์สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิต ได้แก่ เนื้อ นม
ไข่ และขน เป็นต้น ได้สูงสุดตามศักยภาพของสายพันธุ์หรือลักษณะทางพันธุกรรม (genetic)
ของสัตว์แต่ละชนิด และผลสรุปของจุดมุ่งหวังนี้ก็คือ
เพื่อให้ได้ผลกำไรสูงสุดนั้นเอง ดังนั้นจึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า
สารกระตุ้นประสิทธิภาพการผลิต (production performance stimulants) กำลังเป็นที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบันอย่างไรก็ตาม
การเจริญเติบโตของสัตว์นั้นก็ถูกควบคุมด้วยหลายปัจจัย
โดยปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญคือการควบคุมจากโกรทฮอร์โมน (growth hormone;
GH) ซึ่งเป็นฮอร์โมนจาก Somatotroph cells ของต่อมใต้สมองส่วนหน้า
เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องต่อกระบวนการเมแทบอลิซึมของโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต
และมีความสำคัญต่อกระบวนการสร้างและพัฒนาการของกระดูกและกล้ามเนื้อ การหลั่ง GH
จะถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนโซมาโตสแตติน (Somatostatin-14; SS) ซึ่งหากฮอร์โมน SS มีปริมาณมากขึ้น
การหลั่ง GH ก็จะลดลง
Fig.1 Mechanism of Growth Hormone on improve growth performance of the animals GHRH: Growth hormone releasing hormone Source: University of Colorado (2008) |
ปัจจุบันจึงมีการศึกษาการใช้สารกระตุ้นประสิทธิภาพการผลิตของสัตว์ ชนิดหนึ่งคือ “ซีสเทียมีน ไฮโดรคลอไรด์ (cysteamine HCL)” ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ที่เป็นอนุพันธ์ร่วมของกรดอะมิโนซีสเตอีน (cysteine) จัดเป็นสารเคมีในกลุ่ม sulphydryl compound มีผลต่อระบบต่อมไร้ท่อที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเมแทบอลิซึม (metabolism) ของร่างกายสัตว์ โดยใช้หลักการชีวเคมีทางกายภาพ (physio-biochemical regulation; PBR) จึงช่วยปรับปรุงสมรรถภาพการผลิตของสัตว์ (growth performance of animals) โดยมีหลักการในการทำงานดังนี้ เมื่อซีสเทียมีนถูกดูดซึมเข้าสู่ลำไส้เล็ก จะเข้าสู่ระบบต่อมไร้ท่อ จากนั้นจะเข้าไปยับยั้งการทำงานของฮอร์โมน โซมาโตสแตติน (somatostatin; SS) หรือ growth hormone inhibitory hormone ที่ผลิตจากสมองส่วนหน้า (pituitary) ตับอ่อน (pancreas) และลำไส้ (intestinal tract) ซึ่งฮอร์โมน SS นี้จะทำหน้าที่ยับยั้งการผลิตโกรท ฮอร์โมน
Fig.2 The main active mechanism of Cysteamine exhausts Somatostatin (SS) |
การทำงานของซีสเทียมีนในการยับยั้งการทำงานของฮอร์โมน
SS
โดย thiol group (-SH group) ของ ซีสเทียมีน
จะเร่งให้เกิดการสลายพันธะ disulphide ตรงตำแหน่งของกรดอะมิโนซีสเตมีน
(cysteine) ในโมเลกุลของฮอร์โมน SS นี้ให้แยกออกจากกัน
และหมู่ thiol ของซีสเทียมีนจะเข้าจับกับฮอร์โมน SS แทนในตำแหน่งดังกล่าว ทำให้โครงสร้างโมเลกุลของฮอร์โมนนี้เกิดการเสียสภาพ
และลดบทบาทการทำงานลงไป นอกจากนี้ซีสเทียมีนยังมีผลในการยับยั้ง dopamine-?-hydroxylase
ทำให้เกิดการสะสมของ dopamine ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เกิดการสร้างและหลั่งโกรท
ฮอร์โมน อีกด้วย ส่งผลให้ร่างกายสัตว์ที่ได้รับซีสเทียมีน
มีการสร้างและหลั่งโกรท ฮอร์โมน ในกระแสเลือดเพิ่มมากขึ้น
จึงช่วยปรับปรุงสมรรถภาพการผลิตของสัตว์
โดยส่งผลต่อกระบวนการเมแทบอลิซึมของร่างกายสัตว์ดังนี้
· ผลต่อไขมัน:
GH
ช่วยเพิ่มกระบวนการสลายกรดไขมันให้ได้พลังงาน (oxidation of
fatty acid) โดยกระตุ้นการสลายตัวของกรดไขมันอิสระ (free
fatty acid), ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride), ช่วยเร่งปฏิกิริยาภายในเซลล์ไขมันชนิดอะดิโปซัยท์
(adipocyte) และลดการสะสมกรดไขมันในกระแสเลือด
โดยสามารถเพิ่มการนำกรดไขมันดังกล่าวมาใช้เพื่อเป็นแหล่งพลังงานให้กับกล้ามเนื้อ
· ผลต่อคาร์โบไฮเดรต:
GH
ช่วยควบคุมระดับฮอร์โมนอินซูลิน (insulin) ที่เนื้อเยื่อเป้าหมาย
ช่วยกระตุ้นการสร้างกลูโคสจากตับ
ในขณะที่ตับและกล้ามเนื้อเกิดกระบวนการไกลโคจีโนไลซีส (glycogenolysis) ปลดปล่อยกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดเพิ่มขึ้น และนำกลูโคสเข้าสู่วัฏจักรเครป
(Kreb’s cycle) เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในกระบวนการเมแทบอลิซึมของร่างกายสัตว์
นอกจากนี้ GH
กระตุ้นให้เกิดการสร้างสารกระตุ้นเจริญเติบโตที่คล้ายอินซูลิน (insulin-like
growth factor-I; IGF-I) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นจากตับ
และเนื้อเยื่ออื่นๆ บทบาทของ IGF-I ได้แก่
ü กระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์กระดูกอ่อนทำให้เกิดการเจริญเติบโตของกระดูก
üกระตุ้นให้มีการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ
โดยกระตุ้นเซลล์มัยโอบลาสท์ (myoblast) ให้แบ่งตัวเพื่อทำหน้าที่เฉพาะเจาะจง
เพิ่มจำนวนเซลล์ และเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ
นอกจากนี้
ซีสเทียมีนยังมีผลในการต่อต้านความเครียด โดยลดปริมาณและบทบาทของฮอร์โมนคอร์ติซอล
(cortisol)
อีกทั้งช่วยปรับปรุงระบบการดูดซึมอาหารในลำไส้เล็กให้ทำงานได้ดีขึ้น
โดยการช่วยฟื้นฟูวิลลัส (villus) และเซลล์ก็อบเบลท (goblet
cell) ให้สมบูรณ์ขึ้น ดังนั้นการที่สัตว์ได้รับซีสเทียมีน
จึงช่วยปรับปรุงสมรรถภาพการผลิตของสัตว์ ได้แก่
ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสัตว์เจริญเติบโตเร็วขึ้น
ทำให้เพิ่มอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน (Average Daily Gain; ADG), ปรับปรุงอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (Feed Conversion Ratio;
FCR) และปรับปรุงคุณภาพซาก (Carcass Quality) เป็นต้น
** อ้างอิง http://www.jbf.co.th/index.php/2012-11-13-08-45-03/32-cysteamine-hcl-growth-performance
จัดทำโดย
นาย กิตติศักดิ์ น้ำเพชร B5592036
นางสาว อรุณี ดัชถุยาวัตร B5651146
นางสาว ศศิวภรณ์ คิดสุข B5651184
นาย อภิวัฒน์ ยาจันทึก B5653997
ทำได้ดีมากค่ะ ระวังอย่าสับสน prebiotics กับ probiotics นะคะ และก็อย่าลืมความหมายของเทคโนโลยีชีวภาพ ความสัมพันธ์ระหว่าง ดีเอ็นเอ กับ โปรตีน รวมทั้งอย่าลืมว่า เอ็นไซม์ (เกือบทั้งหมด) คือสารประเภทโปรตีน ทำหน้าที่สำคัญมากในการดำรงชีวิตเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกนี้นะคะ
ตอบลบA ค่ะ แต่จะดีกว่านี้ ถ้าไม่ต้องอ่านตอนนำเสนอ และ ต้องพูดจากความเข้าใจจริงๆ
ตอบลบขอบคุณครับอาจารย์
ลบซีสเทียมีน ดีมากๆครับ
ตอบลบWhat can I do to make money by making money from sports betting
ตอบลบA good bet is to make money at หาเงินออนไลน์ sports betting. As mentioned above, you don't need to earn money by making some extra bets or wagers.